วันศุกร์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

สัปดาห์ที่ 8

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ ตฤณ แจ่มถิน
วันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2557
เวลา 8.30-12.20 น.
นสัปดาห์นี้อาจารย์ได้มอบหมายให้ทำงานกลุ่ม 2 ชิ้น คือ 

1. ตัดแปะรูปทรงต่างๆ ตามจินตนาการ
2. ฝึกสอนเด็กตามแบบแผนภูมิต่างๆของกลุ่ม
    
        กลุ่มของดิฉันเป็นแผนภูมิวงกลมที่เกี่ยวกับเรื่อง สัตว์ ที่มีลักษณะที่แตกต่างกัน วัว กับ แมว ในสัปดาห์นี้เป็นงานกลุ่มที่เยอะมากและต้องแข่งขันกับเวลาที่มีจำกัด จึงต้องใช้ความคิดอย่างมากในการจัดทำกิจกรรมและออกมานำเสนอ แต่ดิฉันก็มีความสุขกับงานกลุ่มครั้งนี้มาก เพื่อนๆให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี และให้คำปรึกษาเป็นอย่างดีอีกด้วย ได้ทั้งความรู้มากมายและความสนุกสนานเพลิดเพลินเป็นอย่างมาก

ผลงานชิ้นแรกของกลุ่มตัดแปะรูปทรงตามจินตนาการ


           วิธีทำ   มีรูปทรงต้นแบบ สามเหลี่ยม  สี่เหลี่ยม วงกลม มาให้และให้ตัดแปะรูปทรงทั้ง 3 นี้ลงในกระดาษที่เตรียมไว้และตกแต่งให้สวยงาม โดยต้องมีการวางแผนกันก่อนที่จะทำรูปภาพให้เป็นรู้อะไร อย่างเช่นรูป รถไฟ เรียงลำดับเลข เรียงสี หรือ เรียงจำนวนก็ได้ จำนวนผลไม้  จำนวนสัตว์ และ สามรถนำมาสอนเด็กได้ 




 

สัปดาห์ที่ 7

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ ตฤณ แจ่มถิน
วันที่  15 มกราคม 2557
ครั้งที่ 7  เวลา 08.30-12.20น.

 ในสัปดาห์นี้อาจารย์ได้ให้นักศึกษาทำนิทานเล่มใหญ่ big book โดยทั้งห้องร่วมกันคิดชื่อนิทานและอาจารย์ได้ตั้งหัวข้อชื่อนิทาน ลูกหมูเก็บฟืน โดยมีการจับกลุ่มแบ่งหัวข้อของนิทานและตอนของนิทาน และกลุ่มดิฉันได้หัวข้อ หน้าปกของนิทาน วันนี้เรานั่งทำกิจกรรมกันบนพื้น และอาจารย์ได้เปิดเพลงให้นักศึกษาฟัง และเพื่อนๆในห้องก็มีความสามัคคีในการทำงานจนเสร๊จทันตามเวลาที่อาจารย์กำหนดไว้







นิทานเรื่องลูกหมูเก็บฟืน

       กาลครั้งหนึ่งมีบ้านอยู่สามหลัง หลังที่หนึ่งมีรูปร่างเป็นวงกลม หลังที่สองมีรูปร่างเป็นสามเหลี่ยม และหลังที่สามมีรูปร่างเป็นสี่เหลี่ยม  ในบ้านแต่ละหลังมีลูกหมูอาศัยอยู่ หลังละ 2 ตัว หมูแต่ละตัวจะออกไปทำงานทุกเช้า หมูที่อยู่บ้านหลังที่เป็นวงกลมต้องเดินทางไปทำงานซึ่งใกลมาก หมูที่อยู่บ้านสามเหลี่ยมกับสี่เหลี่ยมเดินทางไม่ไกลจากที่ทำงาน หมูที่อยู่บ้านหลังวงกลมเดินทางไปเก็บฟืนในป่าซึ่งในป่ามีมีฟืนเยอะแยะเลย เจ้าหมู 2 ตัวนี้ก็เลยเรียกเพื่อนที่อยู่บ้านหลังสี่เหลี่ยมกับสามเหลี่ยมเพื่อมาช่วยเก็บฟืนในป่า หมูทั้ง 6 ตัว ช่วยกันนับฟืน 7 ท่อนที่เหลือเก็บไว้ใช้ในวันต่อไป








สัปดาห์ที่ 6

บันทึกอนุทิน
วิชาการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์  ตฤณ  แจ่มถิน
วันที่ 8 มกราคม  2557
ครั้งที่ 6  เวลา  08.30-12.20น.
     
      ในสัปดาห์นีอาจารย์ได้สอนเกี่ยวกับกรอบมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
เด็กเรียนรู้อะไรในคณิตศาตร์?
      -ให้เด็กได้เตรียมความพร้อมด้านต่างๆ ทางคณิตศาสตร์ที่เป็นพื้นฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ในชุ้นปฐมศึกษา

(สาระและมาตรฐานการเรียน)
         สาระที่ 1 จำนวนการดำเนินการ มาตรา ค.ป. 1.1 เข้าใจความหลากหลายของการแสดงจำนวน
 นับ1- 20ได้

         สาระที่ 2 การวัด  มาตรา ค.ป. 2.1 เข้าใจพื้นฐานเี่ยวกับการวัดความยาว และน้ำหนัก เช่น ปริมาณ
เวลา


การวัดมาตรา


          สาระที่ 3 เลขาคณิต ค.ป. 3.1  คือ คณิตศาสตร์3มิติ เด็กจะเรียนรู้ได้ในชีวิตจริง สามารถจับต้องได้ และคณิตศาสตร์ 2 มิติ รู้จักตำแหน่ง ทิศทาง ระยะทาง  ค.ป. 3.2 รู้จักจำแนกรูปเลขาคณิตและ เข้าใจการเปลี่ยนแปลงรูปเลขาคณิตที่เกิดจากการกระทาง
          สาระที่ 4 พีชคณิต ค.ป. 4.1 เข้าใจแบบรูปและความสัมพันธ์ เช่น แบบรูปของรูปทที่มีรูปร่าง
ขนาดที่สัมพันกัน  
           สาระที่ 5 การวิเคาระข้อมูลความว่าจะเป็น  มาตราค.ป. 5.1 การรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับตนเองและสิ่งแวดล้อมและนำเสนอ

ความน่าจะเป็น


            สาระที่ 6 ทักษะและการบวนการทางคณิตศาสตร์  คือการแก้ปัญหา การใช้เหตุผล การสื่อสารและการสื่อความหมาย  ทางคณิตศาสตร์ และการมีความคิดสร้างสรรค์

           กิจกรรมท้ายชั่วโมง  ในวันนี้จะเป็นการทำกิจกรรมเกี่ยวกับรูปทรงเลขาคญิต อาจารย์ให้นักศึกษาเลือกรูปทรงเลขคณิต แล้วนำรูปทรงนั้น มาแปะตรงกลางกระดาษ แล้วให้คิดว่า ในรูปทรงนั้นให้เราสามารถต่อเติมให้เป็นสัตว์ที่เราชอบ ซึ่งดิฉันได้วาดรูปปูที่มีกระดองเป็น3 เหลี่ยม

วันอังคารที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2556

สัปดาห์ที่ 5

                                          วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ตฤณ   แจ่มถิน
วัน / เดือน / ปี  4  ธันวาคม  2556
ครั้งที่  5 กลุ่มเรียน  101
เวลาเข้าเรียน  08.30 น. - 12.30 น.  ห้อง 432 ( จษ )



        อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มออกไปนำเสนอเกมส์ที่เกี่ยวกับพัฒนาการทางคณิตศาสตร์ของเด็ก 

กิจกรรมที่ทำ

      อาจารย์ให้นักศึกษาแต่ละคย เขียนตัวเลขที่ชอบลงในวงกลมที่วาดไว้ จากนั้นอาจารย์ก็ให้ตัดกระดาษสีติดเป็นกลีบดอกไม้ตามตัวเลขที่เขียนไว้




สิ่งที่ได้จากการทำกิจกรรม
- สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
- ฝึกให้เด็กรู้จักการนับ การสังเกต
- ฝึกให้เด็กได้ใช้จินตนาการไปด้วย


สัปดาห์ที่ 4

                                       วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
                                                               อาจารย์ตฤณ   แจ่มถิน 
วัน / เดือน / ปี  27  พฤศจิกายน  2556
ครั้งที่ 4 กลุ่มเรียน  101
เวลาเข้าเรียน  08.30 น. - 12.30 น.  ห้อง 432 ( จษ )



ไม่สบาย ไม่ได้มาเรียนค่ะ








วันจันทร์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

สัปดาห์ที่ 3

วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ตฤณ   แจ่มถิน 
วัน / เดือน / ปี  20  พฤศจิกายน  2556
ครั้งที่ 3 กลุ่มเรียน  101
เวลาเข้าเรียน  08.30 น. - 12.30 น.  ห้อง 432 ( จษ )


จุดมุ่งหมายของการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย


- เพื่อให้เด็กมีความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับตณิศาสตร์ เช่น การรู้จักคำศัพท์
- เพื่อพัฒนามโนภาพเกี่ยวกับคณิศาสตร์ เช่น การบวก ลบ

- เพื่อให้เด็กรู้จักและใช่ขบวนการหาคำตอบ

- เพื่อให้เด็กฝึกฝนคณิตศาสตร์พื้นฐาน
- เพื่อให้เด็กมีความรู้ ความเข้าใจ
- เพื่อส่งเสริมให้เด็กค้นคว้าหาคำตอบด้วยตนเอง

ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยมี 7 ข้อ ดังนี้

1. การสังเกต (Observation) 
- การใช้ประสาทสัมผัสอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกันในการเรียนรู้
- โดยเข้าไปมีปฎิสัมพันธ์โดยตรงกับวัตถุสิ่งของหรือเหตุการณ์อย่างมีจุดหมาย

2. การจำแนก (Classifying)
- การแบ่งประเภทสิ่งของโดยหาเกณฑ์หรือสร้างเกณฑ์ในการแบ่งขึ้น
- เกณฑ์ในการจำแนกคือ ความเหมือน ความแตกต่าง และความสัมพันธ์

3. การเปรียบเทียบ (Comparing)
- เด็กต้องอาศัยความสัมพันธ์ของวัตถุสิ่งของหรือเหตุการณ์ตั้งแต่สองสิ่งขึ้นไป
- เด็กจะต้องมีความเข้าใจเกี่ยวกับลักษณะเฉพาะของสิ่งนั้นๆ และรู้จักคำศัพท์คณิศาสตร์ที่ต้องใช้

4. การจัดลำดับ (Ordering)
- เป็นทักษะการเปรียบเทียบขั้นสูง
- การจัดลำดับวัตถุสิ่งของหรือเหตุการณ์

5. การวัด (Measurement)
- มีความสัมพันธ์กับความสามารถในการอนุรักษ์
- การวัดสำหรับเด็กปฐมวัย ได้แก่ อุณหภูมิ เวลา ระยะทาง ความยาว น้ำหนัก ปริมาณ

6. การนับ (Conting)
- เด็กชอบการนับแบบท่องจำโดยไม่เข้าใจความหมาย
- การนับแบบท่องจำนี้จะมีความหมายต่อเมื่อเชื่อมโยงกับจุดประสงค์บางอย่าง

7. รูปทรงและขนาด (Sharp and Size)
- เด็กส่วนใหญ่จะมีความรู้เกี่ยวกับรูปทรงและขนาดก่อนจะเข้าโรงเรียน



กิจกรรมที่ทำ
- อาจารย์ให้วาดรูปสถานที่ 3 ที่ จากการเดินทางจากที่พักมามหาลัย





สิ่งที่ได้จากการทำกิจกรรม

  1. เด้กได้ฝึกการสังเกต
  2. เด็กได้ใช้ทักษะทางคณิตศาสตร์ เช่น การวัด  การสังเกต กราเปรียบเทียบเป็นต้น
  3. เด็กยังได้ฝึกทักษะทางคณิตศาสตร์และการจินตนาการไปอีกด้วย





สัปดาห์ที่ 2

   วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยอาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วัน / เดือน / ปี  12 พฤศจิกายน 2556
ครั้งที่ 2 กลุ่มเรียน 101


            ในสัปดาห์นี้เราได้รู้ถึงความหมายของคำว่า คณิตศาสตร์ คือ ระบบการคิดของมนุษย์เพื่อศึกษาและอธิบายความสัมพันธ์ของสิ่งต่าง ๆ ในเชิงปริมาณ โดยการใช้ภาพหรือสัญญาลักษณ์ การพูด การเขียน และเป็นการเรียนรู้เพื่อความเข้าใจเกี่ยวกับตัวเลข
          นอกจากนี้การอนุรักษ์ทางคณิตศาตร์ คือ 
-  การที่เด็กจะให้ความสำคัญกับสิ่งที่ที่สังเกตและรับรู้ได้ชัดเจนที่สุด 
-  เด็กไม่สามารถคงความคิดตามสภาพเดิมไว้ได้ เมื่อสภาพทางกายภาพเปลี่ยนแปลงทำให้        เด็กไม่สามารถสะสมความคิดไว้ได้



 กิจกรรมที่ทำ

อาจารย์ให้วาดรูปสัตว์ที่มีขา







สิ่งที่ได้จากการทำกิจกรรม

-  กิจกรรมส่งเสริมการใช้ทักษะทางคณิตศาสตร์ เช่น การนับ การสังเกต
-  ฝึกการสังเกตไปในตัว
-  สามารถนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนได้ในเรื่อง สัตว์