วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วัน / เดือน / ปี 20 พฤศจิกายน 2556
ครั้งที่ 3 กลุ่มเรียน 101
เวลาเข้าเรียน 08.30 น. - 12.30 น. ห้อง 432 ( จษ )
จุดมุ่งหมายของการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
- เพื่อให้เด็กมีความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับตณิศาสตร์ เช่น การรู้จักคำศัพท์
- เพื่อพัฒนามโนภาพเกี่ยวกับคณิศาสตร์ เช่น การบวก ลบ
- เพื่อให้เด็กรู้จักและใช่ขบวนการหาคำตอบ
- เพื่อให้เด็กฝึกฝนคณิตศาสตร์พื้นฐาน
- เพื่อให้เด็กมีความรู้ ความเข้าใจ
- เพื่อส่งเสริมให้เด็กค้นคว้าหาคำตอบด้วยตนเอง
ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยมี 7 ข้อ ดังนี้
1. การสังเกต (Observation)
- การใช้ประสาทสัมผัสอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกันในการเรียนรู้
- โดยเข้าไปมีปฎิสัมพันธ์โดยตรงกับวัตถุสิ่งของหรือเหตุการณ์อย่างมีจุดหมาย
2. การจำแนก (Classifying)
- การแบ่งประเภทสิ่งของโดยหาเกณฑ์หรือสร้างเกณฑ์ในการแบ่งขึ้น
- เกณฑ์ในการจำแนกคือ ความเหมือน ความแตกต่าง และความสัมพันธ์
3. การเปรียบเทียบ (Comparing)
- เด็กต้องอาศัยความสัมพันธ์ของวัตถุสิ่งของหรือเหตุการณ์ตั้งแต่สองสิ่งขึ้นไป
- เด็กจะต้องมีความเข้าใจเกี่ยวกับลักษณะเฉพาะของสิ่งนั้นๆ และรู้จักคำศัพท์คณิศาสตร์ที่ต้องใช้
4. การจัดลำดับ (Ordering)
- เป็นทักษะการเปรียบเทียบขั้นสูง
- การจัดลำดับวัตถุสิ่งของหรือเหตุการณ์
5. การวัด (Measurement)
- มีความสัมพันธ์กับความสามารถในการอนุรักษ์
- การวัดสำหรับเด็กปฐมวัย ได้แก่ อุณหภูมิ เวลา ระยะทาง ความยาว น้ำหนัก ปริมาณ
6. การนับ (Conting)
- เด็กชอบการนับแบบท่องจำโดยไม่เข้าใจความหมาย
- การนับแบบท่องจำนี้จะมีความหมายต่อเมื่อเชื่อมโยงกับจุดประสงค์บางอย่าง
7. รูปทรงและขนาด (Sharp and Size)
- เด็กส่วนใหญ่จะมีความรู้เกี่ยวกับรูปทรงและขนาดก่อนจะเข้าโรงเรียน
กิจกรรมที่ทำ
- อาจารย์ให้วาดรูปสถานที่ 3 ที่ จากการเดินทางจากที่พักมามหาลัย
สิ่งที่ได้จากการทำกิจกรรม
- เด้กได้ฝึกการสังเกต
- เด็กได้ใช้ทักษะทางคณิตศาสตร์ เช่น การวัด การสังเกต กราเปรียบเทียบเป็นต้น
- เด็กยังได้ฝึกทักษะทางคณิตศาสตร์และการจินตนาการไปอีกด้วย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น